ข้อมูลสำคัญของผู้มีบุตรยาก

ท่านสามารถขอข้อมูลหรือสอบถามได้ที่ e-mail : arocayahdee@gmail.com เพราะเนื้อหาบางส่วน มีบางท่านนำไปใช้อ้างอิงและแสวงหาผลประโยชน์แก่สินค้าของตนเอง ซึ่งผู้เขียนอาจได้รับความเสียหายทางตรงและทางอ้อมได้ จึงอยากให้ผู้มีปัญหาจริงๆ จากภาวะมีบุตรยากได้ทราบข้อมูลจำเป็นพื้นฐานต่างๆ ด้วยตนเอง ซึ่งผมยินดีอนุเคราะห์ข้อมูลให้ครับ

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบัน

การรักษาภาวะมีบุตรยากในปัจจุบัน มีหลายระดับ หลายความแรง และหลายราคา หรือว่าท่านผู้อ่านคิดว่าไม่จริงครับ ผมรู้สึกว่า การรักษาภาวะมีบุตรยาก เป็นเรื่องของการทำธุรกิจของสถานประกอบการหรือโรงพยาบาลที่มุ่งแสวงหากำไรมากกว่าการทำเพื่อการกุศลหรือสาธารณูประโยชน์  เพราะด้วยราคาที่แสนจะแพงแบบไม่รับรองผลว่ากี่ครั้งจะสำเร็จ ไม่รู้กี่ครั้งที่จะต้องเจ็บ เจ็บใจเจ็บตัว.......ผมก็เลยคิดว่า ถ้าบุตรที่เกิดด้วยวิธีเหล่านี้ตอบสนองความต้องการของท่านได้แบบความเจ็บปวดรวดร้าว สูญสิ้นทั้งเงินทอง สูญสิ้นทั้งอิสระภาพในการต่อรองแล้วไซร้ ขอให้ท่านอย่าได้มีเลยดีกว่าครับ........
แต่ก่อนที่กระผมจะนำเข้าเรื่องของผักและสมุนไพรในการรักษาภาวะมีบุตรยาก ขออธิบายหลักการหลักษาทางวิทยาศาสตร์คร่าวๆ ให้รู้จักพอสังเขปดังนี้ครับ
ปัจจุบันมีการรักษาด้วยเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย ล้วนแล้วแต่มีการอวดอ้างสรรพคุณของวิธีการเหล่านั้นมากมาย ว่าเพิ่มโอกาสการมีบุตรขึ้น 30-40 เปอร์เซนต์ ....มาดูกันว่าวิธีเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ระดับรากหญ้าจนถึงระดับมหาเศรษฐี ครับ....
แล้วมีขั้นตอนต่าง ๆ คือ
1. การรักษาโดยอาศัยกลไกของธรรมชาติ
นับระยะวันไข่ตก กำหนดวันมีเพศสัมพันธ์ โดยมีเพศสัมพันธ์กันบ่อยขึ้นในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่ การกำหนดวันตกไข่ทำได้โดย
-  มีเพศสัมพันธ์บ่อย ๆ (สัปดาห์ละ 3-4 วัน)
-  กะประมาณด้วยตัวเอง วันที่ 10, 13 และ15 ของรอบประจำเดือนสำหรับผู้ที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ทุก 28 วัน
- ตรวจการตกไข่ด้วยต้วเองโดยใช้เครื่องมือตรวจการตกไข่จากปัสสาวะแล้วมีเพศสัมพ้นธ์กัน (ซื้อได้ตามร้านยาทั่วไป)
- ให้แพทย์ตรวจโดยการทำ อัลตร้าซาวนด้ และ/หรือการตรวจฮอร์โมนจากการเจาะเลือด หาช่วงเวลาของการตกไข่ (สิ้นเปลือง)
-ช่วงไข่ตก จะต้องมีตกขาวและลักษณะของตกขาวแบบนี้จะเป็นตกขาวไม่มีสี ไม่คันไม่แสบไม่มีฟอง เป็นเมือกใสๆลื่นๆ โดยเมื่อนำน้ำเมือกหรือตกขาว มาดึงยืดออกสามารถยืดได้ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ก็ควรที่จะมีเพศสัมพันธ์ครับ
-ตรวจอุณหภูมิของรางกายเป็นประจำ หากวันไหน (ใกล้ๆกลางรอบเดือน ประมาณวันที่ 12-17 ของทุก 28-30 วัน) มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส (ถ้าผู้หญิงหัดสังเกตตัวเอง จะรู้ว่าวันไหนไข่ตก เพราะร่างกายจะอุ่นขึ้นและครั่นเนื้อครั่นตัวได้บ้างเล็กน้อย)

2. การรักษาด้วยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ เมื่อวิธีแรกไม่ได้ผล มีวิธีรักษาต่างๆได้หลายวิธีดังนี้คือ

2.1 การฉีดเชื้ออสุจิ ( Intra Uterine Insemination หรือ IUI )
คือ  วิธีการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง สมบูรณ์ ฉีดเข้าไปในโพรงมดลูกในวันที่ไข่ตก ผ่านทางท่อเล็กๆ เป็นการเพิ่มโอกาสให้อสุจิพบกับไข่มากขึ้น ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งมากกว่าวิธีธรรมชาติ 2-3 เท่า  ในกรณีที่
- มีเชื้ออสุจิไม่แข็งแรง หรือมีปริมาณน้อย
- ไม่มีมูกที่ปากมดลูก หรือมูกเหนียวข้น
- ใช้วิธีธรรมชาติไม่ได้ผล
2.2 การทำเด็กหลอดแก้ว ( InVitro Fertilization and Embryo Retransfer หรือ IVF& ET )
วิธีเก็บเซลล์สืบพันธ์ทั้งไข่และอสุจิ มาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายจนแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อน และทำการเลี้ยงตัวอ่อนภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในห้องปฏิบัติการจนถึงระยะ 4-8 cell หรือเป็น blastocyst แล้วจึงใส่กลับเข้าสู่โพรงมดลูก
ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-50 % แล้วแต่สภาพสาเหตุและการเลี้ยงตัวอ่อน รักษาในกรณีที่
- ท่อนำไข่อุดตันทั้ง 2 ข้าง
- มีพังผืดในอุ้งเชิงกราน ( Endometriosis)
- เชื้ออสุจิไม่แข็งแรง
2.3 การทำอิ๊กซี่ ( IntraCytoplasmic Sperm Injection หรือ ICSI ) หมายถึง การนำตัวอสุจิมาฉีดเข้าไปภายในเซลล์ไข่โดยตรง เพื่อช่วยให้ตัวอสุจิและไข่เกิดการปฏิสนธิ ในรายที่ฝ่ายชายมีจำนวนตัวอสุจิน้อยมาก หรือเคลื่อนไหวไม่มี
วิธีการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรง สมบูรณ์เพียงตัวเดียว ฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง จะใช้ในกรณีที่เด็กหลอดแก้วธรรมดาไม่ได้ผล ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 25-30 %
รักษาในกรณีที่
- เชื้ออสุจิผิดปกติอย่างมาก
- รังไข่ผิกปกติ ไม่มีการตกไข่
- ไข่และอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกันเองได้
- เคยทำเด็กหลอดแก้วแล้วไม่มีการผสมของไข่ แม้ในรายที่น้ำอสุจิปกติ
-  น้ำอสุจิอ่อนมาก เช่น มีตัวเคลื่อนไหวน้อยกว่า 5 แสนตัว ต่อ มล.
- ตัวอสุจิมีรูปร่างปกติน้อยกว่า 10%
- ในรายที่ไม่มีตัวอสุจิในน้ำเชื้อ และต้องเก็บตัวอสุจิจากอัณฑะ

การเก็บตัวอสุจิจากอัณฑะเพื่อทำอิกซี่

            ในรายที่ฝ่ายชายไม่มีตัวอสุจิ ซึ่งเดิมถือว่าเป็นหมันไม่มีทางรักษานั้น ในปัจจุบันแพทย์สามารถช่วยคู่สมรสเหล่านี้ได้ โดยการดูดตัวอสุจิออกมาจากบริเวณถุงพักน้ำเชื้อ หรือที่เรียกว่า PESA (Percutaneous Epididymal Sperm Aspiration) ซึ่งหากได้ตัวอสุจิเพียงเล็กน้อยก็เพียงพอที่จะนำไปฉีดเข้าไปในไข่ การใช้เข็มดูดนี้ เหมาะกับรายที่ท่อนำน้ำเชื้อตันแต่กำเนิด หรือภายหลังผ่าตัดทำหมันชาย สำหรับในกรณีที่การดูดจากถุงพักน้ำเชื้อไม่ได้ตัวอสุจิ ก็อาจลองดูดจากลูกอัณฑะโดยตรง หรือที่เรียกว่า TESA (Testicular Sperm Extraction)

หมายเหตุ

ข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันบ่งว่า ทารกที่ถือกำเนิดจากากรทำอิกซี่ มีการพัฒนาทางร่างกายและทางสมอง เช่นเดียวกับทารกที่ถือกำเนิดเองตามธรรมชาติ แต่อย่างไรก็ตามผลในระยะยาวยังไม่ทราบเนื่องจากเทคนิคนี้ค่อนข้างใหม่ และเด็กรายแรกของโลกที่เกิดจากการทำอิกซี่ ขณะนี้ยังมีอายุแค่เพียง 6 ปีเท่านั้นเอง

ในปัจจุบันได้มีการผลิตกล้องกำลังขยายสูงขึ้น ซึ่งสามารถขยายได้ถึง 16000 เท่า ซึ่งทางโรงพยาบาลพญาไทศรีราชาได้นำเข้ามาใช้ในห้องปฏิบัติการของศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก จึงทำให้เรามองเห็นโครงสร้างบริเวณส่วนหัวของอสุจิได้ชัดเจนขึ้น เราเรียกวิธีการคัดอสุจิด้วยกล้องกำลังขยายสูงนี้ว่า อิมซี่ (Intracytoplasmic morphologically selected aperm injection, IMSI) ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกอสุจิที่สมบูรณ์ได้ดียิ่งขึ้นทำให้อัตราการตั้งครรภ์จากการทำเด็กหลอดแก้วโดยวิธีช่วยผสมแบบอิมซี่ (IMSI) นั้นมีอัตราการตั้งครรภ์ ที่สูงกว่าการทำอิกซี่โดยเฉพาะสาเหตุนั้นเกิดจากฝ่ายชาย 
2.4 การทำกิฟท์ ( Gamete IntraFollopain Transfer หรือ GIFT )
วิธีเก็บเซลล์สืบพันธ์ทั้งไข่และอสุจิ มาผสมกัน แล้วใส่กลับเข้าสู่ท่อนำไข่ทันที อาศัยให้อสุจิและไข่ปฏิสนธิกันเองตามธรรมชาติ ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 30-40 % รักษาในกรณีที่
- เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ มีพังผืด
- มีท่อนำไข่ที่ปกติอย่างน้อย 1 ข้าง
- เชื้ออสุจิอ่อนแอไม่มากนัก
- รายที่ไม่ทราบสาเหตุ
2.5 การทำซิฟท์ ( Zygote IntraFollopain Transfer หรือ ZIFT )                                          
วิธีเก็บเซลล์สืบพันธ์ทั้งไข่และอสุจิ มาผสมกันให้เกิดการปฏิสนธินอกร่างกายก่อน แล้วจึงนำตัวอ่อนในระยะ Zygote ใส่กลับเข้าไปในท่อนำไข่ ความสำเร็จในการตั้งครรภ์แต่ละครั้งประมาณ 20-30 %
รักษาในกรณีที่
- เชื้ออสุจิน้อยกว่าปกติ
- ท่อนำไข่ทำงานไม่ปกติแต่ไม่ตัน
- มีพังผืดมาก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
- รายที่ไม่ทราบสาเหตุ
2.6 การแช่แข็งตัวอ่อน ในกรณีที่มีการปฏิสนธิและการแบ่งตัวของดัวอ่อนมากกว่าที่จะใส่เข้าไปในโพรงมดลูกในคราวเดียวเราจะแช่แข็งตัวอ่อนเพื่อนำมาใส่ได้อีกเพื่อเพิ่มความสำเร็จ ลดค่าใช้จ่าย และลดภาวะแมรกซ้อนจากการกระตุ้นไข่และเจาะไข่แต่ละครั้ง
* การทำกิฟท์และซิฟท์จะต้องทำการผ่าตัดส่องกล้องช่องท้องเพื่อนำไข่และอสุจิหรือตัวอ่อนใส่เข้าไปในท่อนำไข่ นิยมทำในสมัยก่อนที่ห้องปฏิบัติการเลี้ยงตัวอ่อนยังไม่สมบูรณ์ 


สมัยนี้นิยมทำ IVF และ ICSI เพราะไม่ต้องผ่าตัดส่องกล้องช่องท้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น